วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

จังหวัดสุพรรณบุรี


จังหวัดสุพรรณบุรี


ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุพรรณบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่มีความเก่าแก่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย มีอายุถึงยุคหินใหม่ประมาณ 3,500–4,000 ปี สืบต่อเนื่องมาจนถึงยุคสัมฤทธ์และยุคเหล็กอายุราว 2,500 ปี ล่วงเข้าสู่ยุคสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมรวดี ทวารวดี ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน โบราณวัตถุ โบราณสถานที่พบเป็นประจักษ์พยานบ่งบอกว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมีความเป็นมาตั้งแต่ยุคมนุษย์หินใหม่ และยังเป็นเมืองพุทธศาสนา เนื่องจากพบพุทธประติมากรรมอยู่ทั่วไป จากสถิติพบไม่น้อยกว่า 140 – 150 ครั้งตั้งแต่สมัยอมรวดีเป็นต้นมา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองที่พุทธศาสนาฝังรากไว้อย่างแน่นหนาไม่น้อยกว่า 2,300 ปีมาแล้ว ราวพ.ศ.700–800อาณาจักรสุวรรณภูมิซึ่งมีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ต้องตกเป็นเมืองเอกของจินละ(เขมร)ต่อมาราวพ.ศ.1113 พวกไทยเมืองละโว้ได้กู้อิสรภาพสำเร็จอาณาจักรสุวรรณภูมิโบราณนี้ได้กลับมีความเจริญรุ่งเรืองอีกวาระหนึ่ง และมีชื่อใหม่ว่า “อาณาจักรทวารวดี” ในสมัยนั้น เมืองอู่ทอง(สุพรรณบุรี)คงจะเจริญเป็นปึกแผ่นแล้ว ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ในนิทานโบราณคดีเรื่อง “เมืองอู่ทอง” ว่า “ … ข้าพเจ้าเข้าไปดูเมืองท้าวอู่ทอง เมืองตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของลำน้ำจระเข้สามพัน ดูเป็นเมืองเก่ ใหญ่โต เคยมีป้อมปราการก่อด้วยศิลา แต่หักพังไปเสียเกือบหมดแล้วยังเหลือคงรูปแต่ประตูเมืองแห่งหนึ่งกับป้อมปราการ …” เมืองทวารวดี (นครปฐม) เจริญแล้วก็เสื่อมลงตามความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ และสงคราม บางคราวถึงกับทิ้งร้างไปนานๆ เมื่อถึงสมัยอู่ทอง พระยาพานได้พยายามบูรณะใหม่ แต่น้ำท่าไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนสมัยโบราณ พระยาพานจึงได้แต่เพียงซ่อมองค์พระปฐมเจดีย์ แล้วสถาปนาเมืองพันธุมบุรีบนฝั่งแม่น้ำท่าจีนขึ้นแทนระหว่าง พ.ศ.1420–1425 และได้ครองเมืองนี้ต่อมาจนสวรรคตในราว พ.ศ.1459 พระพรรษาได้ครองราชย์แทน แต่กลับเสด็จไปครองเมืองอู่ทองซึ่งใหญ่กว่า เมืองอู่ทองจึงเป็นราชธานี เรียกว่า “เมืองศรีอยุธยา” อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเหตุการณ์เมืองพันธุมบุรีได้เงียบหายไปราวสองศตวรรษ มาปรากฏเรื่องราวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากาแตเชื้อสายมอญ ได้เสวยราชย์ในเมืองอู่ทอง แล้วย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่ เมืองพันธุมบุรี ได้มอบหมายให้มอญน้อย (พระญาติ) สร้างวัดสนามไชย และบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) ในบริเวณเมืองพันธุมบุรีเสียใหม่ เมื่อบูรณะวัดแล้ว ข้าราชการได้เกิดศรัทธาใน พระพุทธศาสนา และชวนกันออกบวชถึงสองพันคน จึงได้เรียกชื่อเมืองนี้ใหม่ว่า “เมืองสองพันบุรี” เมืองอู่ทอง มีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมาหลายพระองค์ เรียกว่า “พระเจ้าอู่ทอง” ทั้งสิ้น และพระราชธิดาของพระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าราม โอรสพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ต่อมาพระเจ้าราม ขึ้นครองเมืองอู่ทองแทน (พ่อตา) คนทั่วไปก็เรียกว่า “พระเจ้าอู่ทอง” เมื่อขุนหลวงพะงั่ว (พี่มเหสี) ขึ้นครองเมืองสองพันบุรี และได้ย้ายไปครองเมืองอู่ทอง ต่อมาเมืองอู่ทองต้องกลายเป็นเมืองร้าง เพราะแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดินใหม่และตื้นเขิน ซ้ำร้ายยังเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) อีกด้วย ขุนหลวงพะงั่วจึงย้ายกลับมาประทับที่เมืองสองพันบุรี และภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่า “เมืองสุพรรณบุรี” เมื่อ พ.ศ. 1890 ี้ เมืองสุพรรณบุรี ที่สร้างขึ้นในสมัยอู่ทองนั้น ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ยังมีคูและกำแพงเมืองปรากฏอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ แต่ตัวเมืองในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยงทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ สันนิษฐานว่าคงย้ายมาเมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เพราะในสมัยกรุงธนบุรีมีศึกพม่าเข้ามาประชิดติดพัน คงไม่มีเวลาว่างที่จะทรงคิดในเรื่องการสร้างบ้านเมืองใหม่ขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คาดเดาว่าเมืองที่ย้ายมาตั้งขึ้นใหม่ ยังคงเป็นป่า เสียส่วนใหญ่ บ้านเรือนราษฎรมีเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำเท่านั้น ห่างจากลำน้ำออกไปเป็นป่าอยู่แทบทั้งสิ้น ตามที่สุนทรภู่กวีเอกของไทยไปเที่ยวเมืองสุพรรณยังพรรณาไว้ในโคลงนิราศสุพรรณว่า “ ได้พบเสืออยู่ในบริเวณเมืองสุพรรณ” นี้ ตั้งแต่สมัยโบราณมีคติถือกันโดยเคร่งครัดว่า“ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ” แต่จะห้ามมาแต่ครั้งใดและด้วยเหตุผลประการใดนั้น ไม่มีผู้ใดตอบได้ จนกระทั่ง ถึงต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงถือกันเป็นประเพณีอยู่เช่นนี้เรื่อยมาเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จะเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนี้ พระยาอ่างทองยังทูลห้ามไว้ โดยถวายเหตุผลว่าเทพารักษ์หลักเมืองไม่ชอบเจ้านายถ้าเสด็จไปมักจะทำให้เกิดอันตรายต่างๆ แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ทรงเชื่อ ทรงเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรีเป็นพระองค์แรก เพื่อจะทรงตรวจราชการที่เมืองนี้ให้จงได้ การจะช่วยเหลือให้ความสะดวก หรือการทำนุบำรุงบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นนั้น ไม่ใช่การไปทำความชั่ว เทพารักษ์ประจำเมืองคงจะไม่ให้โทษเป็นแน่ เมื่อเสด็จกลับจากตรวจราชการครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ทรงได้รับภยันตรายประการใด เจ้านาย พระองค์อื่นทรงเห็นเช่นนั้นก็ทรงเลิกเชื่อถือคติโบราณ และเริ่มเสด็จประพาสกันต่อมาเนือง ๆ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2447พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสุพรรณอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีผู้ใดพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมืองสุพรรณอีกเลย เป็นอันว่าในปัจจุบันไม่ว่า เจ้านายหรือคนธรรมดาสามัญถ้าจะไปเที่ยวเมืองสุพรรณบุรีก็คงจะไปได้ทุกโอกาส โดยไม่มีข้อห้ามหวงกีดกันอย่างใดเลย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสุพรรณก็รวมอยู่ในมณฑล นครชัยศรี ซึ่งประกอบด้วยเมืองนครชัยศรีสุพรรณบุรี และสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2438 จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด เมืองสุพรรณบุรีจึงเป็น “จังหวัดสุพรรณบุรี” ตั้งแต่นั้นมา


สุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง โบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 - 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ "พันธุมบุรี" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี" ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่ง ใต้ หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อ เมืองเรียกวา "อู่ทอง" จวบจนสมัย ขุนหลวงพะงั่ว เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า "สุพรรณบุรี" นับแต่นั้นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ถูกทำลาย ปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมือง สุพรรณได้ฟื้นตัว และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่ น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
ความสำคัญของสุพรรณบุรี ในด้านประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ชัยชนะ แห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอน เจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุก ปีเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดี ไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น


สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ อดีต เมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิม เมืองพันธุมบุรี ในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดี ได้จารึก ชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือและนาม "สุพรรณภูมิ"ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรี จึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวง ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: